โลโก้เว็บไซต์ เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 799 อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เปิดการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี ใน 2 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ อีกทั้งยังเน้นฝึกให้ผู้เรียนเป็นนักปฏิบัติอีกด้วย
จากวิสัยทัศน์และพันธกิจ มหาวิทยาลัยฯ จึงมุ่งพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งอาคารเรียน ครุภัณฑ์ หลักสูตร โครงการอบรม งานวิจัย และด้านอื่นๆ ที่หลากหลาย เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำด้านการจัดการศึกษา และสร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง

 

ตราสัญญลักษณ์

ราชมงคลสัญลักษณ์เป็นรูปตราวงกลมภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบ หมายถึง ปัญญาอันเป็น แสงสว่างในโลกภายในรูปดอกบัวบานเป็นรูปพระราชลัญจกร อัน เป็นตราประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้พระราช ทานนามให้ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" และมีรูปดอกไม้ ทิพย์สองข้างที่ปลายแถบ ซึ่งหมายถึงความ เจริญรุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน ความวิจิตรแห่ง "ราชมงคลสัญญลักษณ์" จักเป็นที่ประจักษ์และ ชื่นชมจากชาวราชมงคลและบุคคลทั่วไปสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล แห่งนี้ จักเป็นสถาบันที่ตระหนักในภารกิจที่จะเสริมสร้างให้ การศึกษาในทางวิชาชีพเจริญรุดหน้าแตกกิ่งก้านสาขา สมดั่งเจตนาที่ ถือกำเนิดมา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามไว้เป็นสิริมงคลสืบไป
 

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย หรือเดิมชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เขตพื้นที่เชียงราย เป็นสถาบันการศึกษา จัดการศึกษาด้านวิชาชีพด้านเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งขึ้น โดยได้รับการสถาปนาและวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 3 มกราคม 2538 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส "กาญจนาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาสู่ท้องถิ่นชนบท โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานในเขตภาคเหนือตอนบน และในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 ชาติ ที่เรียกว่า "เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" โดยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านบริการเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสังคมภูมิภาค เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เปลี่ยนเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา" ในปี พ.ศ.2548 โดยได้รวมกัน 6 วิทยาเขต 1 สถาบัน คือ เขตพื้นที่ภาคพายัพ เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่ตาก เขตพื้นที่น่าน เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่พิษณุโลก และสถาบันวิจัยลำปาง
เขตพื้นที่เชียงราย จัดตั้งขึ้นบริเวณ "นิคมแม่ลาว" อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่รวม 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่ภูเขา 3,500 ไร่ พื้นที่ราบ 1,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ใช้สอยปัจจุบัน 740 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา
 

สีประจำเขตพื้นที่เชียงราย

           สีขาว - แดง
 

ดอกไม้ประจำเขตพื้นที่เชียงราย

           ดอกลีลาวดี
           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria ssp.
 

ปรัชญาการจัดการศึกษา

           มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีความเชื่อมั่นว่่าเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญในขบวนการศึกษาที่จะช่วยเสริมสร้างมาตรฐานและคุณภาพของชีวิตเพื่อเป็นกำลังสำคัญ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
           มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการศึกษามุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความเจนจัดทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญเชิงปฏิบัติ และมีคุณสมบัติที่จำเป็นตามลักษณะของงานอาชีพพร้อมที่จะทำงานและปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าทันต่อวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี รวมทั้งปลูกฝันความเป็นระเบียบวินย และความประณีต สำนึกในจรรยาอาชีพ มีคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นพัฒนากำลังในคำกล่าว "สร้างคนสู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี"
 

ปณิธาน

            มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และสรรค์สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญพร้อมด้วยคุณธรรมและปัญญา พึ่งพาตนเองได้
 

วิสัยทัศน์

           "เป็นผู้จัดการศึกษาด้านวิชาชีพเฉพาะทาง สร้างคนดีมีคุณภาพ ส่งเสริมการค้าสากลสร้างงานวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "
 

พันธกิจ

  • 1. จัดการศึกษาด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล
  • 2. สร้างงานวิจัยที่สร้างคุณค่า
  • 3. ให้บริการและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่
  • 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • 5. พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการค้าสากล
  • 6. บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
 

อัตลักษณ์

           การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าและการบริการในพื้นที่แนวชายแดนในกรอบอนุภาคลุ่มน้ำโขง "Trade and Service"

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา